รับทำ ชุดต้นกำลังไฮดรอลิก
ชุดต้นกำลัง หรือพาวเวอร์ยูนิต (Power Unit)
ชุดต้นกำลัง (Power unit) เป็นหัวใจสำคัญในการขับเคลื่อนระบบไฮดรอลิก ให้เป็นไปตามความต้องการ เช่น แรงดันของกระบอกสูบ, ความเร็วของกระบอกสูบ หรือ ต้องการควบคุมอุปกรณ์ต่อพ่วงชนิดอื่นๆ โดยชุดต้นกำลัง (Power Unit) จะประกอบไปด้วยอุปกรณ์ไฮดรอลิกหลายๆชนิด ขึ้นอยู่กับการออกแบบ และ ลักษณะการใช้งานในแต่ละงาน
- ชุดต้นกำลัง หรือพาวเวอร์ยูนิต แบบมาตรฐาน (Standard Power unit)
- ชุดต้นกำลัง หรือพาวเวอร์ยูนิต แบบขั้นสูง (Advance Power unit)
1.ชุดต้นกำลังไฮดรอลิก หรือพาวเวอร์ยูนิต แบบมาตรฐาน (Standard Power unit)
ใช้ในอุตสาหกรรมทั่วไป เหมาะสำหรับวงจรที่ไม่ซับซ้อนและมีแรงดันใช้งานอยู่ที่ 70 bar - 200 bar ประกอบไปด้วยอุปกรณ์หลักในการทำงานเช่น ปั้มไฮดรอลิก, วาล์วควบคุมแรงดัน, วาล์วควบคุมทิศทาง, วาล์วควบคุมการไหล โดยชุดต้นกำลังแบบมาตรฐานจะมีขนาดของถังน้ำมันอยู่ที่ 25 ลิตร – 60 ลิตร ขึ้นอยู่กับการออกแบบให้เหมาะสมกับลักษณะงานนั้นๆ
หน้าที่และการทำงานของอุปกรณ์บางส่วนในชุดต้นกำลังแบบมตรฐาน (Standard Power unit)
- ไฮดรอลิกปั้ม (Hydraulic pump)
- ทำหน้าที่ดูดและส่งน้ำมันไฮดรอลิกเข้าไปในระบบ โดยปั้มแต่ละรุ่นสามารถทำแรงดันได้แตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับวงจรการทำงานและผู้ออกแบบ
- กรองน้ำมันขาดูด (Suction Filter)
- ทำหน้าที่กรองน้ำมันไฮดรอลิกก่อนเข้าปั้ม โดยมีหน่วยวัดความละเอียด เป็น Mesh มีทั้งแบบที่เป็นตาข่ายเหล็ก และ สแตนเลส
- วาล์วควบคุมความดัน (Relief Valve)
- ทำหน้าที่ควบคุมและจำกัดแรงดันในระบบให้เป็นไปตามค่าที่ตั้งไว้
- วาล์วควบคุมความเร็ว (Flow control valve)
- ทำหน้าที่ควบคุมความเร็วของกระบอกสูบ หรือ ไฮดรอลิก มอเตอร์ สามาถแบ่งการควบคุมได้ 2 แบบ คือ แบบทางเดียว และ แบบสองทาง
- วาล์วกันตก (Pilot Check valve)
- ทำหน้าที่ Block แรงดันของน้ำมันไว้ที่กระบอกสูบ เพื่อไม่ให้กระบอกสูบ ยุบตัว กรณีที่ต้องการยก Load ค้างตำแหน่งไว้
2. ชุดต้นกำลัง แบบขั้นสูง (Advance Power unit)
ชุดต้นกำลังไฮดรอลิก แบบชั้นสูง (Advance power unit) ใช้เพื่อการควบคุมที่มีความละเอียดสูงและมีแรงดันใช้งานตั้งแต่ 100 bar - 350 bar ชุดต้นกำลังขั้นสูง มักจะมีขนาดใหญ่อยู่ที่ 150 ลิตร – 400 ลิตร หรือมากกว่านั้นขึ้นอยู่กับวงจรการทำงานโดยในวงจรขั้นสูงของระบบไฮดรอลิก อุปกรณ์ส่วนใหญ่ที่พบมากเช่น ถังสะสมแรงดัน (Accumulator), อุปกรณ์ระบายความร้อน (Heat exchanger), วาล์วป้องกันแรงดันเกิน (Safety valve) เป็นต้น ในบางระบบที่ต้องการๆควบคุมที่มีความแม่นยำสูง เช่น เครื่องฉีดพลาสติก เครื่องเป่าขวด อาจมีพบวาล์วควบคุมแบบ Proportional valve หรือ Servo valve อยู่ด้วย
หน้าที่และการทำงานของอุปกรณ์บางส่วนในชุดต้นกำลังแบบขั้นสูง (Advance power unit)
- อุปกรณ์ระบายความร้อนด้วยพัดลม (Heat Exchanger)
- ทำหน้าที่ลดอุณหภูมิของน้ำมันไฮดรอลิกเนื่องจากในบางวงจร น้ำมันไฮดรอลิกอาจจะมีอุณหภูมิสูงขึ้น ซึ่งจะส่งผลเสียกับอุปกรณ์ต่างๆในระบบได้ จึงจำเป็นต้องมีอุปกรณ์สำหรับระบายความร้อนของน้ำมัน โดยสามารถแบ่งการทำงานออกเป็น 2 ประเภท คือ แบบระบายความร้อนด้วยพัดลม และ แบบระบายความร้อนด้วยน้ำ
- ถังสะสมแรงดัน (Accumulator)
- อุปกรณ์ชนิดนี้พบมากในระบบไฮดรอลิกที่มีขนาดใหญ่ และในระบบที่ต้องการอัตราการไหลสูง และสามารถนำไปทำหน้าที่อื่นๆในระบบให้ไฮดรอลิกได้หลายรูปแบบ เช่น ใช้สำหรับเก็บแรงดันฉุกเฉิน (Emergency), ใช้สำหรับรับแรงกระแทก (Damping), ใช้สำหรับประหยัดพลังงานในวงจร เป็นต้น โดย ถังสะสมแรงดัน สามารถแบ่งออกตามโครงสร้างหลักได้ 3 ประเภท
- แบบ Bladder
- แบบ Diaphragm
- แบบ Piston
- กรองน้ำมันขากลับ (Return Filter)
- เป็นอุปกรณ์สำหรับกรองน้ำมันในระบบก่อนกลับลง Tank มีหน่วยวัด ความละเอียดเป็นไมครอน (Micron) โดยปกติทั่วไปมักจะใช้ขนาดการกรองที่ 10 Micron และ 25 Micron