ใช้ชีวิตอย่างปลอดภัย สร้างระยะห่าง ด้วยใจ ห่างไกลโควิด
การใช้ชีวิตอย่างปลอดโรคโควิด “โอไมครอน” หรือ “โอมิครอน”
"ขอให้ทุกท่าน
ระมัดระวัง และดูแลตัวเอง
และปฎิบัติตัวตามมาตรการความปลอดภัยทางสาธารณสุข อย่างเคร่งครัด"
ตัวอย่างโรคระบาดที่อุบัติบนโลกทุก 100 ปีที่ผ่านมา
1. โควิด 19
โควิด 19 วันนี้ (21 ธันวาคม 2564) ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความระบุว่า โควิด-19 "Omicron" ติดต่อง่าย ระบาดเร็ว ดื้อวัคซีน เชื้อ Omicron ระบาดได้เร็ว เพราะติดต่อง่าย ประมาณไวรัสลำคอสูง แพร่กระจายอย่างรวดเร็ว ยอดผู้ติดเชื้อเพิ่มอย่างมากในทุกประเทศ พบแล้วมากกว่า 90 ประเทศ ทางยุโรปและอเมริกายอดผู้ป่วยสูงถึงกับต้องล็อกดาวน์กันเลย การตรวจพบในผู้เดินทางเข้าประเทศไทย ถ้าตรวจพบเชื้อโควิดจะเป็น Omicron สูงขึ้นเรื่อยๆ อัตราการตรวจพบสายพันธุ์ Omicron ต่อ Delta อยู่ที่ 1:3 แล้ว
แนวโน้มที่จะเกิดการระบาดในประเทศไทยมีสูงมาก เพราะการตรวจ RT-PCR ถ้าอยู่ในระยะฟักตัวจะตรวจไม่พบ เมื่อเข้าประเทศแล้วจึงจะมีอาการ และจำนวนมากมีอาการน้อย หรือไม่มีอาการ แต่แพร่เชื้อได้ ขณะนี้ต้องการนักคณิตศาสตร์ นักเศรษฐศาสตร์ คำนวณผลได้ผลเสียกับการเดินทางของนักท่องเที่ยวต่างประเทศ ถ้าระบาดในประเทศไทยจะต้องเสียค่าใช้จ่ายจำนวนมาก การท่องเที่ยวภายในประเทศได้รับผลกระทบ และผลกระทบอี่นๆ อีกตามมากับรายได้ที่จะได้จากนักท่องเที่ยวต่างประเทศ สิ่งไหนจะได้มากกว่า ชีวิตที่จะต้องดำเนินต่อไปจะต้องอยู่ในภาวะสมดุล ระหว่างภาวะเศรษฐกิจ ปากท้องของประชาชน และระบบสาธารณสุขประเทศต้องอยู่ได้
2. ไข้หวัดสเปน
ไข้หวัดสเปนการเพิกเฉยต่อโรคระบาดและจัดขบวนพาเหรด บทเรียนจากไข้หวัดใหญ่สเปนที่คร่า 50 ล้านชีวิตมากกว่าจำนวนคนตายในสงครามโลกครั้งที่ 2 รวมกัน
3. กาฬโรค หรือ โรคห่า
กาฬโรคตาย 150 ล้านคน มีสถิติที่น่าสังเกตุบ่งชี้ว่า ทุกๆ 100 ปี จะมีโรคระบาดใหญ่เกิดขึ้น 1 ครั้งเหตุใดถึงเป็นเช่นนั้น และแต่ละครั้งมนุษยชาติผ่านมันมาได้อย่างไรพงศาวดารหรือบันทึกทางประวัติศาสตร์เกี่ยวกับประเทศชาติเป็นอีกหนึ่งหลักฐานที่สามารถบ่งบอกร่องรอยของโรคระบาดในอดีตได้ย้อนกลับไปในประวัติศาสตร์ตั้งเเต่ยังเป็นสยามประเทศเคยพบโศกนาฏกรรมจากโรคระบาดใหญ่หลายต่อหลายครั้งและผ่านพ้นมาได้ทุกครั้งจนกระทั่งวันนี้ปี 2263 ประวัติศาสตร์โลกบันทึกความสูญเสียของประชากรกว่า 125 ล้านคนจาก "black death" หรือ "ความตายสีดำ" ที่คนไทยรู้จักกันดีในชื่อ "กาฬโรค" หรือ "โรคห่า"
พงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบับวันวลิต บันทึกความรุนแรงของ"กาฬโรค"หรือ"โรคห่า" ในครั้งนั้นว่า น้ำลายพิษของมังกรจากหนองน้ำ "ฆ่าคนจนเมืองร้าง" สร้างความปั่นป่วนในราชสำนักก่อเกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ทั้งด้านเศรษฐกิจการเมืองและสังคมโรคนี้อยู่คู่กับสยามประเทศเป็นเวลากว่า 170 ปี แม้จะไม่คงอยู่ตลอดไป แต่มันก็ไม่ได้หายไปไหนและกลับมาแพร่ระบาดอีกครั้งในสมัยรัชกาลที่ 5 ราวปี พ.ศ.2437 อาณาเขตการแพร่ระบาด เริ่มที่เมืองท่าของจีนและฮ่องกงเคลื่อนตัวไปยังแอฟริกา อินเดีย ยุโรป สิงคโปร์ ไทยและออสเตรเลียในครั้งนั้นสยามต้องหาทางป้องกันโรคระบาดที่มาทางเรือด้วยการก่อตั้ง "ด่านตรวจโรคเกาะไผ่" ขึ้นเพื่อควบคุมโรคติดต่อแห่งแรกของไทย
4. ไข้ทรพิษ
ไข้ทรพิษระบาดในโลก ระหว่างปี ค.ศ 1952–1980 ทำให้อาณาจักรอินคาติดโรคจากชาวสเปนที่เข้าไปล่าอณานิคมในทวีปอเมริกาใต้ จนสูญสิ้นเผ่าพันธุ์
ทั้งนี้ขอให้ทุกท่านปฏิบัติตนตามมาตรการทางสาธารณสุขอย่างเคร่งครัด สวมหน้ากากอนามัยอย่างถูกวิธี เว้นระยะห่าง เลี่ยงสถานที่แออัด
และเข้ารับวัคซีนฯ เพื่อป้องกันความรุนแรงของโรคโดยเร็วที่สุด ด้วยความห่วงใย
บริษัท นิวแอนด์ไฮด์ จำกัด (PHA)
ผู้ค้นคว้า และ เรียบเรียง
คุณบุญสุข สังข์รัศมี
คุณสุวรรณ จันเทวี