ชุดกรองลมแบบต่างๆ (Air Service Devices)
ชุดกรองลมแบบต่างๆ Air Service Devices
ชุดกรองลมในระบบนิวเมติกส์ FRL มีชื่อเรียกแตกต่างกันหลายชื่อ เช่น ชุดกรองลม (Air Service Unit) ชุดเตรียมลม ชุดปรับปรุงคุณภาพลม (Air Preparation Unit)
ชุดกรองลมในระบบนิวเมติกส์ FRL นั้นมีความหมายครอบคลุมค่อนข้างกว้าง และอาจจะหมายถึงอุปกรณ์ชิ้นใดชิ้นหนึ่ง หรือหลายชิ้นตามตารางข้างล่างนี้
รูป | ชื่อย่อ | ชื่อเรียก | หน้าที่ |
---|---|---|---|
F สัญลักษณ์ |
ฟิลเตอร์ตัวกรองอากาศ อุปกรณ์กรองอากาศ (Air Filter) |
1. กรองละอองน้ำ ฝุ่น เรณู สิ่งสกปรกมีใช้กรองคืออนุภาค 3 ขนาด ขนาดไม่เกิน 40 ไมครอน(ใช้กับงานทั่วๆไป) 2. กรองขนาดไม่เกิน0.3ไมครอน ใช้กับงานที่ต้องการความสะอาดมาก 3. ขนาดไม่เกิน0.01ไมครอน สำหรับใช้งานนิวเมติกส์ในห้องสะอาดมากที่สุด เช่น ห้องผลิตยา ห้องผลิต Semiconductor ซึ้งต้องใช้ร่วมกับ Mist หรือ micro mist separator ซึ่งจะกรองละอองน้ำมัน และควันละเอียดให้ออกมาจากลดอัด |
|
R สัญลักษณ์ |
หัวปรับความดันลม ตัวปรับแรงดันลม ชุดปรับแรงดันลม (Air Regulator) | ควบคุมแรงดันลมให้ความดันด้านท่อสาขาลดลงตามต้องการโดยอาศัยให้หมุนปรับแรงที่สปริง เพื่อควบคุมแผ่นไดอะแฟรมให้ปรับแรงดันลมได้ในกรณีที่ต้องการปรับแรงดันลมในงานคุณภาพสูง เช่น ใช้กับผู้ป่วย การผลิตยา เพื่อไม่ให้มีสนิมหลุดไปกับลม จึงใช้ไดอะแฟรมทำจากสแตนเลสหรือเทปล่อน(ดูรายละเอียดมากกว่านี้ในชุดกรองลม) | |
L สัญลักษณ์ |
ชุดจ่ายน้ำมันหล่อลื่น ตัวจ่ายน้ำมันหล่อลื่น | ตัวจ่ายน้ำมันทำหน้าที่ดูดน้ำมันที่อยู่ใต้สุดของถ้วยของตัวจ่ายน้ำมัน น้ำมันที่ถูกดูดมาด้านบนสุดจะถูกลมแรงพัดไปในท่อลมทำให้น้ำมันอยู่ในสภาพละอองเล็กมาๆและผสมในลมไม่มากนัก ลมที่มีละอองน้ำมันจะไปทำหน้าที่หล่อลื่น ในโซลินอยด์วาล์ว (solenoid valve) กระบอกลม (air cylinder) ฯลฯ ทำให้อุปกรณ์มีอายุนานขึ้น *น้ำมันที่ควรใช้ในการหล่อลื่น คือน้ำมันหล่อลื่น VG32 |
|
F.R.L สัญลักษณ์ |
ชุดกรองอากาศ ชุดกรองลม ชุดปรับคุณภาพลม FRL Air Service Unit |
คือ ชุดกรองลม ชุดปรับคุณภาพลม แบบมีอุปกรณ์ 3 ชิ้น คือ F และR และL ต่อติดเรียงกันตามรูป F = ตัวกรองลม (Filter), ชุดกรองอากาศ ชุดกรองลม, ชุดปรับคุณภาพลม FRL, (Air Service Unit) R = ตัวปรับแรงดันลม (Regulator) L = ตัวจ่ายน้ำมันหล่อลื่น (Lubricator) |
|
FR.L สัญลักษณ์ |
ชุดกรองอากาศ ชุดกรองลม ชุดปรับคุณภาพลม FRl Air Service Unit |
คือ ชุดกรองลม FRL ชุดปรับคุณภาพลม (Air Service Unit) มีอุปกรณ์ 2 ชิ้นคือ อุปกรณ์FR ตัวกรองลม (Air Filter) และตัวปรับแรงดันลม (Air Regulator) รวมอยู่ในอุปกรณ์ตัวเดียวกัน อุปกรณ์L ตัวจ่ายน้ำมันหล่อลื่น (Air Lubricator) มาต่อร่วมรวมเป็น FL.R |
|
AMG สัญลักษณ์ |
ตัวจับแยกไอน้ำออกจากลม Water Separator | แยกน้ำจากลมด้วยการบังคับให้ลมอดที่เข้ามาในตัวมันหมุนรอบภาชนะถ้วยกลม โดยมีเรซิน (Resin) จับไอน้ำ โดยไอน้ำที่จับมาจะรวมกันเป็นหยดไหลลงไปด้านล่าง (Drain) ลมก็จะออกมาจากตัวไอน้ำจากลมด้วยวิธีนี้ สามารถจับหยดน้ำได้ถึง99% อย่างไนก็ดียังมีความชื้นอยู่ในลมที่ไม่สามารถกำจัดออกมาได้ แต่เป็นตัวแยกไอน้ำที่มีประสิทธิภาพสูงมาก | |
AFF สัญลักษณ์ |
ตัวกรองลมที่ท่อลมเมรน main line filter | ใช้กรองน้ำมันและอนุภาคขนาดไม่เกิน 5ไมครอน ทำให้ช่วยไม่ให้ air dryer ทำงานหนักทำให้อายุการใช้งานของอุปกรณ์นิวเมติกส์ต่างๆที่ปลายท่อสาขา มีอายุการใช้งานได้ง่ายขึ้น (โปรดดู ตัวกรองลมท่อลมเมน) |
|
AM สัญลักษณ์ |
ตัวกรองไอน้ำมันและอนุภคสนิมโลหะคาร์บอน ฯลฯ (mist separator) | สามารถจับไอน้ำที่มาจากน้ำมันหล่อลื่นลูกสูบของปั๊มลม โดยสามารถกรองคาร์บอนและสนิมเหล็กขนาดใหญ่กว่า 0.3 ไมครอนได้ | |
AMD สัญลักษณ์ |
ตัวกรองและแยกไอน้ำที่มีขนาดเล็กมาก (micro mist separator) | กรองไอน้ำมันและอนุภาคคาร์บอนสนิมเหล็ก ขนาดเกิน 0.01 ไมครอนออกจากลม เหมาะสำหรับใช้ในห้อง (clean room) ผ่าตัด ห้องพยาบาล โรงงานยา และโรงงานผลิต (integrated Circuit) | |
AMH สัญลักษณ์ |
ตัวกรองและแยกไอน้ำขนาดเล็กมากพร้อมตัว (pre-filter micro mist separator with pre-filter) | มีตัว (pre-filter) ทำให้ตัว (micro mist separator) ทำงานไม่หนักไป | |
AME สัญลักษณ์ |
(Super mist separator) | สามารถกรองไอน้ำมันและสิ่งเจือปนออกจากลมได้เหลืออนุภาคขนาดไม่เกิน 0.3 ไมครอน ให้มีจำนวนน้อยกว่า 100 อนุภาคใน1คิวบิตฟุต ซึ่งตรงตามมาตาฐาน (clean room class 100) สะอาดกว่าห้องผ่าตัด ซึ่งเป็น clean room class 1000 |