หลักการทำงานของชุดปรับคุณภาพลม

หลักการทำงานของชุดปรับคุณภาพลม

ชุดปรับคุณภาพลม (Service Unit) เป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยทำความสะอาดลมก่อน ที่ลมจะเข้าไปยังระบบการควบคุม

 สัญญาลักษณ์ของชุดกรองลม
สัญญาลักษณ์ของชุดกรองลม


ซึ่งแบ่งออกเป็น 3 ส่วน คือ ตัวกรองอากาศ (Filter), ตัวปรับแรงดัน (Regulator) และตัวส่งน้ำมันหล่อลื่น (Lubricator) และทั้ง 3 ส่วนมีหน้าที่ และหลักการทำงานที่แตกต่างกันดังต่อไปนี้

หลักการทำงานของชุดปรับคุณภาพลม


                             1. ตัวกรองอากาศ (Filter) มีหน้าที่กำจัดสิ่งสกปรก ฝุ่นละออง และละอองไอน้ำกลั่นตัวที่ติดเข้ามากับอากาศ

ตัวกรองอากาศ Filter
                       ในขณะที่อากาศแรงดันไหลเข้าไปในชุดของ Filter ก่อนขณะเข้าไปในลูกถ้วย จะต้องผ่านแผ่นบังคับกระแสการไหล ซึ่งแผ่นบังคับกระแสการไหลนี้จะทำเป็นช่องๆ ซึ่งมีมุมปิด จะทำให้อากาศแรงดันเกิดการหมุนวนหลังจากผ่านช่องมุมปิดนี้ ละอองน้ำและสิ่งสกปรกขนาดใหญ่จะได้รับแรงเหวี่ยงหนีศูนย์เนื่องจากอากาศหมุนวน และถูกเหวี่ยงเข้าไปปะทะกับผนังของลูกถ้วย แล้วไหลตามผนังลูกถ้วยลงสะสมที่ก้นลูกถ้วย

                   หลังจากนั้นอากาศจะผ่านFilter ซึ่งมีขนาดต่างกัน แล้วแต่ชนิดของคุณภาพของอากาศที่ต้องการเตรียม (40 , 5 ,0.3 หรือ 0.01 μm ) ตัวFilter นั้นส่วนมากทำมาจากบรอนซ์เม็ดนำมาอัดด้วยความร้อน จะกำจัดสิ่งสกปรกที่ไม่สามารถกำจัดได้ด้วยแรงเหวี่ยงออกจากอากาศแรงดัน ตัวFilter ควรจะทำความสะอาดหรือเปลี่ยนใหม่ตามระยะเวลาอันสมควร ขึ้นอยู่กับความสกปรกของอากาศแรงดัน อากาศแรงดันที่ผ่าน Filter แล้วจะไหลผ่านต่อไปยัง Pressure Regulator และ Lubricator ไปยังเครื่องจักร หรืออุปกรณ์ทำงาน

                     2. ตัวควบคุมแรงดันลม (Pressure Regulator) มีหน้าที่ในการรักษาขนาดของแรงดันใช้งานที่ต้องการ (Secondary Pressure) ให้คงที่โดยไม่เปลี่ยนแปลงไปตามแรงดันจากแหล่งผลิต (Primary Pressure) และรักษาปริมาณอากาศในการใช้งานให้คงที่ Primary Pressure จะต้องสูงกว่า Secondary Pressure เสมอ

ตัวควบคุมแรงดันลม
                     เมื่ออากาศแรงดันมีแรงดันเพิ่มสูงขึ้นจะกดให้ไดอะแฟรมชนะแรงสปริงที่กดอยู่อีกด้านหนึ่งในขณะเดียวกัน Plunger ซึ่งเป็นก้านวาล์วก็จะถูกสปริงกดให้เลื่อนตามไดอะแฟรมลงไปด้วย ทำให้ช่องเปิดวาล์ว มีขนาดเล็กลงหรือปิดเลย หมายความว่า แรงดันจะถูกกำหนดโดยปริมาณมวลสารที่ไหลผ่านบริเวณวาล์ว เมื่อแรงดันทำงานที่ต้องการลดลง สปริงก็จะดันแผ่นไดอะแฟรมเลื่อนขึ้นตัว Plunger ก็จะเปิดวาล์วให้อากาศแรงดันไหลผ่านมากขึ้นได้ตามความต้องการ ถ้าอากาศแรงดันทางด้าน Secondary เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว จะทำให้แผ่นไดอะแฟรมถูกกดลงชนะแรงสปริงที่ดันอยู่ให้ต่ำลงมาก ด้าน Plunger ก็จะเปิดวาล์วที่แกนของไดอะแฟรม ให้อากาศแรงดันระบายผ่านห้องสปริงออกไปภายนอก
  
   

                    3. ตัวส่งน้ำมันหล่อลื่น (Lubricator) มีหน้าที่จ่ายสารหล่อลื่นให้กับอุปกรณ์นิวเมติกส์ให้พอเพียง ซึ่งสารหล่อลื่นเหล่านี้จะใช้เพื่อลดการสึกหรอของส่วนที่เคลื่อนที่ ลดความฝืดของอุปกรณ์ และป้องกันการเกิดสนิมในอุปกรณ์

ตัวส่งน้ำมันหล่อลื่น Lubricator
                          ตัว Lubricator ส่วนมากจะทำงานตามหลักการของแรงดันแตกต่างจากหลักการของช่องแคบ ความแตกต่างของแรงดันแตกต่าง P ระหว่างแรงดันก่อนตัวหัวฉีด และแรงดันที่หัวฉีดบริเวณช่องแคบจากหลักการดังกล่าวน้ำมาใช้กดของเหลว (Oil) จากถังเข้าไปยังหัวฉีดให้น้ำมันผสมกับอากาศ

ดูรายละเอียดสินค้าเพิ่มเติมได้ที่ 👉 กรองลม FRL ชุดกรองลมดักน้ำ ( F.R.L Combination)

#ชุดปรับคุณภาพลม #ServiceUnit #แรงดัน #อากาศ #ตัวควบคุมแรงดันลม #PressureRegulator #ตัวส่งน้ำมันหล่อลื่น #Lubricator #ตัวกรองอากาศ #Filter #น้ำมันหล่อลื่น #นิวเมติกส์ #กรองลม #Pneumatic #ลม #อุปกรณ์ลม #ของเหลว

☎️ ติดต่อซื้อสินค้า หรือปรึกษาทีมวิศวกรได้ที่

LINE OA : @pneuhyd

Office : 02-743-8999

E-mail : This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

 




ดาว์นโหลด แคตตาล็อก, สเป้กแอร์แทค
Promotion-Big Sale
ติดต่อเรา
TICTechnology Instrument 
www.tic.co.th
tupackT.U Pack 
www.tupack.co.th
Your LiftYour Lift 
www.yourlift.co.th