อุปกรณ์นิวเมติกส์ (Pneumatic Component) ที่ใช้ในท่อสาขา (In Brand Air Pipes)

อุปกรณ์นิวเมติกส์ (Pneumatic Component) ที่ใช้ในท่อสาขา (In Brand Air Pipes)

อุปกรณ์ที่ใช้งานในระบบนิวเมติกส์ ที่สำคัญ คือ

ชุดกรองลมดักน้ำ ชุดบริการลมอัด F.R.L Unit หรือ FRL Combination/ Preparation unit ใช้สำหรับปรับปรุงคุณภาพลม ที่ได้รับการลดฝุ่นและดักน้ำ ที่ออกมาจากปั๊มลม ซึ่งเต็มไปด้วยไอน้ำ และยังคงมีฝุ่นหลงเหลืออยู่ แม้จะผ่านการลดไอน้ำ และผ่านหม้อกรองลมหลัก (Main Filter) แล้วก็ตาม

  • อักษร F หรือ AF มาจากคำเต็มว่า Air Filter หรือตัวกรองลมดักน้ำ ตัวกรองที่ใช้ในท่อลมสาขาก่อนเข้าเครื่องจักร สามารถกรองฝุ่นขนาดเกิน 40, 0.3 หรือ 0.01ไมครอน ให้เลือกใช้พร้อมทั้งกรองไอน้ำออกได้ สำหรับ ฟิลเตอร์ขนาดใหญ่ที่ต่อหลังปั๊มลม จะมีตะแกรงกรองขนาด 50 ไมครอน
  • อักษร R หรือ AR มาจากคำเต็มว่า Air Regulator หรือ ตัวปรับแรงดันลม เครื่องปรับแรงดันลม อุปกรณ์ควบคุมความดันลม
  • อักษร L หรือ AL มาจากคำเต็มว่า Air Lubricator หรือ ตัวผสมน้ำมันหล่อลื่น เครื่องผสมน้ำมันล่อลื่น อุปกรณ์ผสมน้ำมันหล่อลื่น
  • ชุดกรองลมดักน้ำ 9 แบบ 3 ตัวเรียง เขียนสั้นๆว่า F.R.L
  • ชุดกรองลมดักน้ำ 9 แบบ 2 ตัวเรียงกัน เขียนสั้นๆว่า FR.L

รูปกรองลมดักน้ำ ปรับแรงดันผสมน้ำมัน (F.R.L) แบบ 3 ตัวเรียง

Air-Service

1. ตัวกรองลมดักน้ำ อุปกรณ์กรองลมดักน้ำ (Filter, Air Filter)

1.1 ตัวกรองลมดักน้ำในท่อเมน (Main Line Air Filter)

air-filter
  • ตัวกรองลมดักน้ำทำหน้าที่กรองฝุ่นละออง ทำให้ลมอัดมีความสะอาดก่อนนำไปใช้งานโดยมีหลักการทำงานดังนี้
  • เมื่อลมอัดผ่านช่อง (P1) เข้าคลีบ บังคับลม มีผลทำให้ลมเกิดการหมุนวน น้ำซึ่งมีน้ำหนักมากกว่าลม จะถูกเหวี่ยงไปปะทะกับหลอดแก้ว ไหลลงสู่ด้านล่างดังรูป ลมที่ไหลผ่านช่อง (P2) จะเป็นลมที่มีความสะอาด
main-line-filterรูปไดอะแกรม (main-line-filter)
สัญลักษณ์
Symbol-mainlinefilter

รูปตัวกรองลมดักน้ำสำหรับท่อแมนกรองได้ขนาด 40, 5 ไมครอน AirTAC

construction

1.2 ตัวกรองลม อุปกรณ์ลมในท่อสาขาหรือที่เครื่องจักร (Branch Line Filter, Air Filter) ทำหน้าที่กรองฝุ่นและดักไอน้ำ โดยมีตระแกรงกรองขนาด 40, 5, 0.3, 0.01 ไมครอน เพื่อให้เลือกใช้ให้เหมาะกับงาน

ตัวกรองลมดักน้ำ (Filter) สามารถเขียนย่อสั้นๆว่า "F"

GF ตัวกรองดักลมรุ่น GF600 AirTAC

โครงสร้างภายในของตัวกรองลมดักน้ำ AirTAC

GF-200-600

รูปแสดงภายในของตัวกรองลม
สัญลักษณ์ Symbol-GF

ตัวกรองลมดักน้ำแบบมือหมุนระบายน้ำ (Manual Drain)

AFM-AFD-Series
  • เมื่อปริมาณน้ำมากขึ้น เราจะทำการหมุนมือหมุน เพื่อการระบายน้ำออก

ตัวกรองลมดักน้ำแบบระบายน้ำอัตโนมัติ (Auto Drain)

AF-Series
  • เมื่อปริมาณน้ำมากขึ้น จะทำให้ลูกลอยเลื่อนขึ้น ก้านยกลิ้น เปิดทำให้ลมผ่านไปดันลูกสูบเลื่อน ซีลจะเปิดน้ำในกระบอกแก้ว ให้ไหลออก

2 ตัวปรับแรงดันลม ตัวปรับความดันลมตัวควบคุมความดันลม Air Regulator, Regulator คือตัวปรับให้แรงดันด้านขาออกของตัวปรับแรงดันลมเป็นไปตามความต้องการใช้งานอย่างคงที่ ซึ่งโดยปรกติมักปรับอยู่ที่ประมาณ 3-5 Bar ตัวปรับแรงดันลม (Regulator) สามารถเขียนย่อๆว่า "R"

ตัวปรับแรงดันลม AirTAC รุ่น GR, AR, BR (Regulator GR, AR, BR Series)GR-AR-BR-Series

**หมายเหตุ

  1. ตัวปรับแรงลม (Air Regulator) แบบลมย้อนได้ใช้กับกรณีที่ ใช้กับงานไม่ใช่งานทั่วๆไป กล่าวคือ ลมที่ผ่านตัวปรับแรงลมไปใช้กับตัว Stopper Cylinder เป็นต้น (ปัญหาคือ Stopper Cylinder) เป็นกระบอกลมใช้กับงานเฉพาะ คือต้องการที่จะหยุด ของหนักๆที่วิ่งมาให้ช้าลงจนหยุดในระยะทางสั้นๆทำให้เกิดแรงกระทำกับลูกสูบซึ่งโดนกระแทกทำให้เกิดความดันลมที่สูงขึ้นมากดันย้อนกลับไปที่ตัวปรับแรงดันลม (Air Regulator) ซึ่งแรงดันลมที่สูงมากจะไหลผ่านตัวเช็ควาล์วจึงไม่มีแรงดันลมกระทำรุนแรงต่ออุปกรณ์ภายในของตัวปรับแรงลม เช่น ไดอะแฟม เป็นต้น
  2. ตัวปรับแรงลมแบบลมย้อนไม่ได้ ใช้กับงานทั่วๆไปที่ไม่มีการเพิ่มของแรงดันลมขาออกมากมาย เหมือนในข้อ 1. ซึ่งถ้าการกระแทกของแรงดันลมที่เพิ่มขึ้นสูงมากจะไปทำลายไดอะแฟมให้เสียหาย ซึ่งจะสังเกตุได้จากเสียงลมรั่วผ่านไดอะแฟมที่ถูกทำลาย

ตัวกรองลมดักน้ำ (Filter) และตัวปรับแรงดันลม (Regulator) ในตัวเดียวกัน สามารถเขียนสั้นๆว่า FR สามารถใช้ได้เหมือนกับตัวกรองลมดักน้ำที่ต่อเรียงกับตัวปรับแรงดันลมได้เหมือนกัน แต่ประหยัดพื้นที่มากกว่า

filter


air-regulator

ตัวปรับแรงดันลม (Air Regulator)
  • เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ควบคุมความดันออกไปใช้งาน ให้มีค่าคงที่อยู่เสมอ ถ้าความดัน (P2) ต่ำกว่าที่ตั้งไว้ สปริงจะดัน แหวนรอบลิ้นวาล์ว (4) ให้ลิ้นวาล์ว (3) เปิดออก ลมจากทางลมเข้า (P1) ก็จะไหลออกมาที่ช่อง (P2) จึงทำให้ลมมีความดัน (P2) สูงขึ้นจนเท่ากับแรงดันของสปริง ลิ้นวาล์ว (3) ก็ปิดลง

1.3 ตัวผสมน้ำมันหล่อลื่น ตัวผสมน้ำมัน Air Lubricator (L)

GL-AL-BL-Series
air-lubricator

รูปตัวผสมน้ำมัน Air Lubricator
  • ตัวผสมน้ำมัน Air Lubricator เป็นอุปกรณ์หน้าที่ผสมน้ำมันหล่อลื่น เข้าในระบบ เพื่อช่วยล่อลื่นชิ้นส่วนของอุปกรณ์นิวเมติกส์ต่างๆ เช่น โซลินอยด์วาล์ว กระบอกลม กระบอกสูบ ที่มีการเคลื่อนที่ เพื่อยืดอายุการใช้งาน
lubricator

รูปตัวผสมน้ำมัน Air Lubricator
  • เมื่อมีลมอัดเข้าช่อง (A) ผ่านรูเชื่อต่อ (C) แล้วไหลผ่านช่องว่างที่มีละอองน้ำมัน (7) ซึ่งมากจากบริเวณรูน้ำมัน (8) และห้อง (D) เกิดเป็นสุญญากาศ น้ำมันจะถูกดูดขึ้นทางท่อ (3) และจะหยดลงไปในรูน้ำมัน น้ำมันจะถูกฉีดให้เป็นฝอย ไหลผ่านช่อง (B) การปรับน้ำมันล่อลื่น สามารถปรับได้ที่ช่องสกรู (4) หรือเป็นหัวสกรูใหญ่พอให้ใช้นิ้วมือหมุนปรับได้
ดาว์นโหลด แคตตาล็อก, สเป้กแอร์แทค
Promotion-Big Sale
ติดต่อเรา
TICTechnology Instrument 
www.tic.co.th
tupackT.U Pack 
www.tupack.co.th
Your LiftYour Lift 
www.yourlift.co.th